วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

#10 Custom Ecommerce Solution in ASP.NET, Microsoft.NET, JAVA, PHP

ASP.NET
(เดิมเรียกว่า ASP+) เป็นรุ่นต่อมาของ Active Server Page (ASP) ที่เป็นส่วนการทำงานของ Internet Information Server (IIS) ทั้ง ASP และ ASP.NET ยอมให้ผู้สร้างเว็บในการสร้างเว็บเพจไดนามิคแบบ on the fly โดยการแทรกคิวรี่กับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในเว็บเพจ ASP.NET ต่างจากรุ่นก่อนหน้านี้ 2 ด้านหลัก คือ การสนับสนุนคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมไพล์ เช่น Visual Basic, C++, C#, Perl เป็นต้น และส่วนการทำงานควบคุมแม่ข่ายที่สามารถแยกคำสั่งจากเนื้อหา ยอมให้ WYSIWYG แก้ไขเพจ ถึงแม้ว่า ASP.NET ไม่สอดคล้องกับ ASP แต่สามารถเรียกใช้กับโปรแกรมประยุกต์ ASP ได้ ไฟล์ ASP.NET สามารถรับรู้โดยส่วนขยาย .aspx

Microsoft .NET
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี XML และ จะเป็นกลจักรสำคัญที่จะปฏิวัติวงการ พร้อมทั้งบริการและเครื่องมือที่จะผสมผสานคอมพิวเตอร์กับการสื่อสารเข้าด้วย กันในรูปแบบใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภค พนักงานที่มีความรู้ความชำนาญ (Knowledge Worker) และนักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทางอุปกรณ์ใดๆ ได้ทุกเวลาและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

แนวคิดหลักในการสร้าง Microsoft .NET คือ ความ พยายามในการเปลี่ยนแนวจากการสร้างเว็บไซต์แต่ละแห่งให้เป็นอิสระจากกันหรือ การพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ให้เชื่อมต่อกันบนอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกวิธีการ เวลา และประเภทของข้อมูลที่ต้องการ ตลอดจนสามารถกำหนดขอบเขตและควบคุมข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ แม้แต่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้ใครเข้ามาดูของตนหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ในยุคอินเทอร์เน็ตโฉมใหม่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และบริการทุกชนิดสามารถเชื่อมโยงถึงกันและกันได้ จึงก่อให้เกิดบริการที่หลากหลาย กว้างขวางมากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งต่างจากในปัจจุบันที่บริการ หรือข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตแต่ละอย่าง เป็นอิสระจากกันโดยสิ้นเชิง เสมือนเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ห่างกันในทะเลกว้าง และผู้บริโภคจะต้องเป็นผู้ที่เชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหรือบริการ เหล่านั้นเอง

บริการใน Microsoft .NET ประกอบด้วย
building blocks หรือเทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ การบ่งบอกตัวบุคคล (Identity), การแจ้งและรับ-ส่งข้อมูล (Notification and Messaging), การกำหนดรูปแบบ ลักษณะ และการรับข้อมูล ตามที่แต่ละคนต้องการ (Personalisation), Schematised Storage, ปฏิทิน (Calendar), ทำเนียบข้อมูล (Directory), การค้นหาและกระจายซอฟต์แวร์ (Search and Software Delivery) หรือระบบ Dynamic Delivery ซึ่ง การทำงานเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารใช้งานได้ตามความต้องการมากขึ้นพร้อมทั้ง มีการสื่อสารโต้ตอบได้อย่างฉับพลันมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความเป็นส่วนตัวมากขึ้น Microsoft .NET building block นั้นมีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ และบนแพลตฟอร์มทุกชนิด ที่ใช้เทคโนโลยี XML อย่าง ไรก็ตาม ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จะเป็นแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างและให้ บริการอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็สามารถกระจายบริการอิน เทอร์เน็ตยุคใหม่ไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ได้สะดวก

Java คืออะไร

Java เป็นภาคภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบ สำหรับการใช้บนอินเตอร์เน็ต โดยมีส่วนของการ "look and feel" แบบภาษา C++ แต่ง่ายกว่าการใช้ C++ และสามารถสร้างมุมมองโดยโปรแกรมได้ Java สามารถใช้ในการสร้างการประยุกต์แบบสมบูรณ์ ซึ่งสามารถเรียกใช้ได้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการกระจายระหว่างเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่ายในระบบเครือข่าย และสามารถสร้างโมดูลการประยุกต์ขนาดเล็กหรือ applet สำหรับเป็นส่วนของเว็บเพจ applet ทำให้มีความเป็นได้ในด้านการตอบสนองของผู้ใช้กับเว็บเพ็จ
คุณลักษณะคือ
            - โปรแกรมมีขนาดเล็กในระบบเครือข่าย การคอมไพล์จะแปลงโปรแกรมเป็น Java bytecode ซึ่งสามารถเรียกใช้งานได้ทุกที่ภายในเครือข่าย Java virtual machine เป็นตัวแปร bytecode ให้เป็นโปรแกรมเพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความหมายว่า platform ที่แตกต่างกันของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้โปรแกรมนี้ได้
            - คำสั่งเป็นแบบ "Robust" มีความหมายว่า อ็อบเจคของ Java ไม่มีการอ้างอิงข้อมูล หรืออ็อบเจคจากภายนอกซึ่งแตกต่างจาก C++ และภาษาอื่น ๆ เป็นการทำให้มั่นใจไม่มีการเก็บตำแหน่งของข้อมูล ในโปรแกรมประยุกต์อื่น หรือในระบบปฏิบัติการที่ทำให้โปรแกรมไม่ทำงาน Java virtual machine ทำการตรวจสอบแต่ละอ็อบเจคที่ใช้ในโปรแกรม
            - Java เป็นเหมือนกับอ็อบเจคหนึ่ง สามารถได้รับประโยชน์จาก class หรือคำสั่ง เนื่องจากอ็อบเจคมีคุณสมบัติเป็น "นาม" ซึ่งทำให้ติดต่อกับผู้ใช้ได้ ในขณะนี้ภาษาดั้งเดิมมีคุณสมบัติเป็น "กริยา" ดังนั้น method จะได้การรับรู้เป็นความสามารถของอ็อบเจคหรือพฤติกรรม
            - การประมวลผลทำที่เครื่องลูกข่าย ดังนั้น Java applet มีคุณลักษณะในการออกแบบให้ทำงานได้เร็ว
            - Java ง่ายกว่า C++ โดยเปรียบเทียบ
Java ได้รับการแนะนำโดย Sun Microsystems ในปี 1995 และทำให้เกิดทัศนคติการตอบสนองของเว็บ ทำให้ web browser รายหลักได้รวม Java virtual machine เป็นส่วนหนึ่งของ browser ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติเกือบทั้งหมดได้ร่วม Java complier เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์
Java virtual machine รวมถึงตัวเลือกคือ Just-in-time complier ซึ่งเป็น complier แบบไดนามิคในการคอมไพล์ byte code เป็นคำสั่งที่ประมวลผลได้ เป็นตัวเลือกในการแปร bytecode ในหลาย ๆ กรณี dynamic JIT สามารถคอมไพล์ได้เรียกว่าการแปรของ Java virtual machine
JavaScript เป็นภาษาที่พัฒนาโดย Netscape ซึ่งเป็นตัวแปร (Interpreter) ภาษาระดับสูงและง่ายกว่าการ
เขียนด้วย Java แต่ขาดความกะทัดรัดเหมือน Java และความเร็วไม่มาก
เนื่องจาก Java applet สามารถใช้งานได้รับเกือบทุกระบบปฏิบัติการ โดยไม่ต้องคอมไพล์ใหม่และ Java ไม่ใช้ส่วนขยายของระบบปฏิบัติการหรือตัวแปร ดังนั้น Java จึงได้รับพิจารณาเป็นภาษาหลักในการพัฒนาการประยุกต์บนเว็บ

พีเอชพี (PHP)

พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว

ชื่อของพีเอชพี

ภาษาพีเอชพี ในชื่อภาษาอังกฤษว่า PHP ซึ่งใช้เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ จากคำว่า PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page

ตัวอย่างภาษาพีเอชพี

ภาษาพีเอชพี จะเป็นส่วนประกอบภายในเว็บเพจ โดยคำสั่งจะปรากฏระหว่าง <?php … ?> เช่น


<?php
echo “Hello, World!”;
?>
<?
echo “Hello World.”; 
?>
<SCRIPT LANGUAGE = ‘php‘>
echo “Hello World.”;
</SCRIPT>
v
<% 
echo “Hello World.”; 
%>

คุณสมบัติ

การแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะHTML ซึ่งจะไม่แสดงคำสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์ สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์สามารถอ่าน ดูและคัดลอกคำสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลักของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการคำสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะCGI คุณสมบัติอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดคำสั่ง (command line scripting) ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ทำงานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้

การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถทำงานร่วมกับคำสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการทำงานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพื่อแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตราฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพื่อแปลงเอกสาร XML

เมื่อใช้พีเอชพีในการทำอีคอมเมิร์ซ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรมทำธุรกรรมทางการเงิน

การรองรับพีเอชพี

คำสั่งของพีเอชพี สามารถสร้างผ่านทางโปรแกรมแก้ไขข้อความทั่วไป เช่น โน้ตแพด หรือ vi ซึ่งทำให้การทำงานพีเอชพี สามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการหลักเกือบทั้งหมด โดยเมื่อเขียนคำสั่งแล้วนำมาประมวลผล Apache, Microsoft Internet Information Services (IIS) , Personal Web Server, Netscape และ iPlanet servers, Oreilly Website Pro server, Caudium, Xitami, OmniHTTPd, และอื่นๆ อีกมากมาย. สำหรับส่วนหลักของ PHP ยังมี Module ในการรองรับ CGI มาตรฐาน ซึ่ง PHP สามารถทำงานเป็นตัวประมวลผล CGI ด้วย และด้วย PHP, คุณมีอิสรภาพในการเลือก ระบบปฏิบัติการ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้สร้างโปรแกรมโครงสร้าง สร้างโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) หรือสร้างโปรแกรมที่รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน แม้ว่าความสามารถของคำสั่ง OOP มาตรฐานในเวอร์ชันนี้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ตัวไลบรารีทั้งหลายของโปรแกรม และตัวโปรแกรมประยุกต์ (รวมถึง PEAR library) ได้ถูกเขียนขึ้นโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบ OOP เท่านั้น

พีเอชพีสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลได้หลายชนิด ซึ่งฐานข้อมูลส่วนหนึ่งที่รองรับได้แก่ ออราเคิล dBase PostgreSQL IBM DB2 MySQL Informix ODBC โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบ DBX ซึ่งทำให้พีเอชพีใช้กับฐานข้อมูลอะไรก็ได้ที่รองรับรูปแบบนี้ และ PHP ยังรองรับ ODBC (Open Database Connection) ซึ่งเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่ใช้กันแพร่หลายอีกด้วย คุณสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ที่รองรับมาตรฐานโลกนี้ได้

พีเอชพียังสามารถรองรับการสื่อสารกับการบริการในโพรโทคอลต่างๆ เช่น LDAP IMAP SNMP NNTP POP3 HTTP COM (บนวินโดวส์) และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสามารถเปิด Socket บนเครื่อข่ายโดยตรง และ ตอบโต้โดยใช้ โพรโทคอลใดๆ ก็ได้ PHP มีการรองรับสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ WDDX Complex กับ Web Programming อื่นๆ ทั่วไปได้ พูดถึงในส่วน Interconnection, พีเอชพีมีการรองรับสำหรับ Java objects ให้เปลี่ยนมันเป็น PHP Object แล้วใช้งาน คุณยังสามารถใช้รูปแบบ CORBA เพื่อเข้าสู่ Remote Object ได้เช่นกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น