วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

#10 Ecommerce with Content Management System


Content Management System
เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรมโดยผู้ที่ใช้งานสามารถจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์ได้โดยง่าย ใช้เพียงแต่ Browser กับ Internet เท่านั้น
CMS เป็นระบบที่ออกแบบให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านเวิร์กโฟลว์ ซึ่งการทำงานแบบเวิร์กโฟลว์จะพบเห็นได้ในระบบในระดับไฮเอนด์ทั่วไป เพราะมีประสิทธิภาพสูง และช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องเสมอ โดยขั้นตอนในการปรับปรุง แก้ไข หรือสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่ อาจมีเวิร์กโฟลว์ดังนี้

    1.    ผู้บริหารระดับสูงเห็นชอบให้มีการสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่
    2.    ผู้พัฒนาหรือกลุ่มผู้พัฒนาสร้างเทมเพลต และโฟลเดอร์เพื่อรองรับ 
    3.    ตรวจสอบความถูกต้อง 
    4.    กระจายงานสู่กลุ่มพนักงาน 
    5.    กลุ่มพนักงานสร้างเนื้อหาใหม่ หรือแก้ไขเนื้อหา 
    6.    ผู้ดูแลเว็บไซต์อนุมัติ 
    7.    รวบรวมข้อมูลนำขึ้นเว็บไซต์ได้ โดยงานในแต่ละส่วนของเวิร์กโฟลว์สามารถส่งต่อไปยังส่วนใดๆ ของเวิร์กโฟลว์ก็ได้ 
Content Management System ที่มีความฉลาดมากๆ จะยอมให้ผู้ดูแลสามารถปรับแต่งเวิร์กโฟลว์ของระบบได้ เพียงแค่ใช้เมาส์ลากแล้ววาง เพื่อปรับแต่งไดอะแกรมของเวิร์กโฟลว์ หรือกำหนดขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์กับยูสเซอร์แต่ละรายได้ด้วย เช่น กลุ่มของผู้บริหารระดับสูงสามารถแจ้งข่าวกับพนักงานผ่านทางเว็บไซต์ของระบบอินทราเน็ตในองค์กรได้ทันที หรือการเพิ่มเติมข่าวสาร เนื้อหาจากยูสเซอร์บางราย ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลระบบ หรือฝ่ายกฏหมายขององค์กรก่อนนำข่าวสารนั้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ต)


Content Management System ทำงานอย่างไร CMS ช่วยแบ่งโครงสร้างในการจัดการกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยแยกส่วนเนื้อหา ออกจากวิธีการแสดงผล ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแยกกันทำงานได้ 

การออกแบบเทมเพลต ผู้ออกแบบจะเพียงสร้างเทมเพลตขึ้นมา เพื่อให้รูปแบบการแสดงผลของเว็บไซต์สอดคล้องกัน เมื่อต้องการเปลี่ยนแบบก็เพียงสร้างเทมเพลตใหม่ เพจใดที่ใช้เทมเพลตนี้ก็จะเปลี่ยนการแสดงผลตามด้วย นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังสามารถออกแบบเทมเพลตสำหรับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์ม เช่น เครื่องพีซี, พีดีเอ, โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 

การจัดทำเนื้อหา ผู้ที่ทำหน้าที่แต่งเนื้อหา จะทำงานผ่านฟอร์มที่เป็นเว็บเบส ในการสร้างเนื้อหาใหม่ๆ หรืออิมพอร์ตไฟล์เอกสารเข้าสู่ระบบ โดยการกรอกข้อมูลลงในฟิลด์ต่างๆ ของแบบฟอร์ม เพื่อให้รายละเอียดว่าเนื้อหานี้เกี่ยวข้องกับอะไร เพื่อระบบจะได้นำไปจัดการต่อได้ถูก 

เวิร์กโฟลว์ ระบบส่วนใหญ่จะให้คุณสามารถออกแบบลำดับขั้นในการทำงานหรือเวิร์กโฟลว์สำหรับส่วนประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ เช่น เนื้อหาจากแผนกต่างๆ จะต้องผ่านการตรวจสอบและอนุมัติจากใครบ้าง 

ฐานข้อมูล ส่วนประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์จะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล และมีแนวโน้มที่จะใช้ XML เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วถึงมากขึ้น 

Personalization ระบบ CMS อาจมีเครื่องมือประเภท Personalization มาให้ด้วย ทำให้สามารถสร้างเพจที่เหมาะสมกับลักษณะความสนใจของผู้ชมแต่ละคน 

เอาขึ้นเว็บ เนื้อหาเดียวกันสามารถจะปรากฏบนเพจต่างๆ ในเว็บไซต์ได้มากกว่าหนึ่งเพจ หรืออาจไปปรากฏในเว็บไซต์อื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรกัน หรือปรากฏบนอุปกรณ์ แพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Smarts Phone  และ Tablet


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น