ถ้าหากว่าคณต้องการเป็นผู้ประกอบการใหม่ และผู้ประกอบการใหม่ต้องการทำเว็บไซต์ขายของหรือเว็บ E-commerce มักจะมี Requirement และคำถามหลังเปิดเว็บไซต์แนวนี้มาด้วย ว่าเว็บไซต์นั้นสมารถตัดเงินผ่านบัตรเครดิต (Creit Card) ได้หรือไม่ในมุมมองของผู้ประกอบการ หรือผู้เปิดธุรกิจเว็บไซต์ใหม่ๆมักจะไม่รู้รูปแบบธุรกิจ หรือ Business Model อยากให้มีช่องทางการจ่ายเงินที่ดีเวลาซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต มักจะนึกถึงการจ่ายเงินทางบัตรเครดิต จำเป็นต้องเปิดบริการตัดเงินผ่านบัตรเครดิตหรือที่เรียกว่า Credit Card Payment Gateway
ขั้นตอนการขอเปิดบริการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต โดยทั่วไปจะใช้ 2 วิธี
1.เปิด Payment Gateway กับทางธนาคารโดยตรง
ปัจจุบันได้รับความนิยมหลากหลายที่ทางด้าน ธ.กรุงเทพ, ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.กสิกรโดยทำการติดต่อไปที่ธนาคาร
ซึ่งมักจะ Require ค่า Parameter ที่เป็นมาตราฐานกลาง บางตัวเช่น ต้องจดทะเบียน E-Commerce กับกระทรวงพาณิชย์ หรือจำเป็นที่จะต้องซื้อ SSL ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ที่ต่างประเทศยอมรับ ต้องมีโปรแกรมเมอร์เข้าใจหลัก Webservice เข้าใจค่าพรารามิเตอรื Framework ของส่วนมาตรฐานกลาง และ ต้องเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทขึ้นไป ในบางแห่งถึงกับต้องมีการตกลงให้วางเงินค้ำประกัน นั่นหมายถึง Cost ที่สูงขึ้น มีงบทำเว็บไซต์แค่ 1-3 หมื่น ไม่สามารถทำได้แน่ๆ
2.เปิด Payment Gateway แบบผ่านคนกลาง
เช่น Paysbuy, Paypal ซึ่งปกติจะให้บริการ E-wallet และการจ่ายเงินตัดบัตรเครดิตโดยตรง ที่ Paysbuy เรียกว่า Directpay ผู้ที่ต้องการใช้บริการ ต้องมีความน่าเชื่อถือพอสมควร ซึ่งทางคนกลางจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่าสมควรจะเปิดให้ใช้หรือไม่ และไม่ต้องการ SSL เพราะเมื่อชำระเงินระบบจะลิ้งไปที่เว็บของ คนกลางเองซึ่งมีระบบ SSL อยู่แล้ว
จากสองข้อนั้น มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป นั่นคือถ้าคุณเป็นองค์กรใหญ่ ทำเน้นทำธุรกรรมออนไลน์เป็นหลัก โดยมีทีมพัฒนาเว็บไซต์แล้วก็ติดต่อธนาคารโดยตรงได้เลย โดยเสียค่าบริการต่อ Transaction ไม่สูงนัก 0.5-3 %
แต่หากว่าคุณไม่มั่นใจ และพึ่งเริ่มทำ E-commerce โดยอาจจะใช้ Freelance หรือ Outsource ทั่วไป ที่ค่าจ้างไม่สูงนัก และตัวผู้ประกอบการนั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ ก็แนะนำให้ใช้บริการผ่านคนกลางหรือ Paysbuy จะสะดวกซะกว่าไปสุ่มๆเสี่ยงๆ เพราะการเขียนโปรแกรมติดต่อ Gateway สามารถจัดการด้าน API ง่ายกว่าการใช้ Web service ของทางธนาคาร และคนกลางอย่าง Paypal และ Paysbuy จะคอย Monitor การจ่ายเงินตลอดเวลา เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ระบบก็จะทำการตรวจสอบข้อมูล ก่อนหักเงินจริง ๆ เป็นการป้องกันอีกขั้นนึงในการแก้ปัญหาการโขมยใช้บัตรเครดิตคนอื่นมาซื้อสินค้า
ปัญหาอีกรูปแบบคือ การใช้บัตรเครดิตของคนไทยนั้นคนไทยจะมีความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยเกี่ยวกับการโขมยข้อมูลบัตรเครดิต ทำให้เกิดกรณีหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต และกลุ่มคนที่จะจ่ายเงินผ่านวิธีนี้มักจะเป็นชาวต่างชาติซะมากกว่า
ดังนั้น Payment Gateway ที่ต้องการจะเปิดนั้นควรมองกลุ่มเป้าหมายก่อว่าเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ
SSL หรือ Secure Socket Layers เป็นโปรโตคอลในการส่งข้อมูลแบบเข้ารหัส
ซึ่งวิธีเข้ารหัสจะแตกต่างกันไปในแต่ละเจ้าของ สังเกตุได้ง่าย ๆ
เมื่อเข้าเว็บที่ต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงิน
ระบบจะ alert ถาม yes/no และ http: จะเป็นเปลี่ยนเป็น https:
โดยแต่ละเจ้าจะมี Certificated ให้เมื่อคุณซื้อ SSL ของเค้า และบางเจ้าถึงกับแจ้งว่า ถ้าถอดรหัสได้ รับไปเลย $10,000,000 (-*-มั่นใจสุด ๆ )
Mobile payment ต้องเขียนโปรแกรมติดต่อ Webservice
และต้องซื้อเบอร์จาก operator แต่ละเจ้า ซึ่งแพงและกำหนดเป็นต่อ
Slot ตามราคา เช่น ถ้าคุณเปิดช่องราคา 9 บาท และ 20 บาท
เวลาคุณจะตัดเงินจากลูกค้า ก็จะตัดได้แค่ 2 ราคานี้เท่านั้นและเมื่อได้รับชำระเงิน
Service charge สูงถึง 40-50% ของราคาขายทีเดียว
เหมาะกับสินค้าประเภท software / e-book / Digital media file
หรือสินค้าที่ไม่มีต้นทุนต่อจำนวน