วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

Ten Steps of SEO

 

Ten Steps of SEO

Step 1 Initial Analysis การวิเคราะห์ขั้นต้น

65,000 เว็บไซต์ใหม่เปิดตัวทุกวัน การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหา หรือ SEO กำลังเข้ามามีส่วนมากขึ้นและมีการแข่งขันที่สูง ความต้องการทางธุรกิจเพื่อที่ประสบความสำเร็จบนตลาดโลกออนไลน์นั้นเพิ่มขึ้น การตลาดที่ดีของเว็บไซต์ของคุณจะเป็นการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความสำเร็จ ขณะที่กลยุทธ์การทำตลาดที่แย่จะทำให้สูญเงินจำนวนมาก และจะยิ่งเลวร้ายลง

ขั้นตอนแรกของ10ขั้นตอน SEO, การวิเคราะห์เบื้องต้น หลายองค์กรมองข้ามการวิเคราะห์ตลาด และเสี่ยงทำไปด้วยตนเอง เราให้คำแนะนำผู้คนเสมอเพื่อดูแลการตลาดออนไลน์ เหมือนกับการทำตลาดในด้านอื่นๆ การวิเคราะห์ตลาดการทำงบประมาณก้อนใหญ่มันจะทำให้ไม่ผิดหวัง

1.Is there a market for your products/services?

มีตลาดสำหรับสินค้าบริการของคุณไหม?

2.What products & Services is your competition offering?

สินค้าและบริการอะไรของคุณที่ออกไปแข่งขัน?

3.Who is your target Audience?

ใครคือผู้ฟัง(กลุ่มเป้าหมาย)?

4.What is your route to market?

ช่องทางการตลาดของคุณคือ?

5.Put together a marketing strategy

ผลักดันกลยุทธ์ทางการตลาด

Step 2 Keyword Research and Analysis การวิจัยและวิเคราะห์คีย์เวิร์ด

การวิจัยคีย์เวิร์ดน่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของ Search Engine Optimisation (SEO) นี่คือส่วนที่ควรจะให้การดูแลและให้ความสนใจเป็นพิเศษ

สิ่งสำคัญสำหรับเจ้าของเวปไซต์มือใหม่คือ การที่ทำอย่างไรก็ได้ ให้เวปไซต์ของตัวเองเป็นที่รู้จักของผู้สนใจ หรือเรียกว่า การตลาดเวปไซต์ โดยสิ่งที่สำคัญที่ควรจะต้องพิจารณาเป็นอย่างแรกเลย ก็คือ คีย์เวิร์ด Keywordsก่อน สร้างเวปไซต์ขึ้นมาซักเวปไซต์นึง คุณจะต้องคำนึงถึงว่า เวปไซต์นั้นมุ่งเน้นกลุ่มผู้สนใจแบบใด จากนั้นก็สมมุตตัวเองว่า ถ้าตัวเองเป็นผู้สนใจในเวปๆนึงเราจะใช้คำอะไรในการค้นหา ซึ่งต้องไม่ยาวเกินไป และไม่สั้นเกินไปที่จะสรุปในความต้องการนั้นได้ อย่างแรกก็คิดเลยว่าการที่จะค้นหาเวปไซต์นั้น ส่วนใหญ่เขาต้องค้นหาด้วยคำว่าอะไร ทั้งหมดรวมเรียกว่า เทคนิค SEO

ปกติคนทั่วไปค้นหาเวปไซต์ในเวปที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเป็นร้อยละ 92 และอีกร้อยละ 8 คือผู้ที่เข้าถึงเวปไซต์ผ่านผู้แนะนำ ลิงค์ต่างๆจากเวปบอร์ด และสุดท้ายคือมาจากการโฆษณา และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมเวปไซต์ให้บริการสืบค้นหาข้อมูลจึงเป็นที่นิยม

ซึ่งขั้นตอนการทำให้เวปไซต์อยู่ในอันดับต้นๆนั้น จะมาจากช่องทางการโฆษณาเวปไซต์ หรือที่เรียกว่า Search Engine Marketing (SEM) ซึ่งการที่จะทำให้เวปไซต์หนึ่งๆ ติดอันดับต้นๆของผลการ search แล้วนั้น ผู้เป็นเจ้าของต้องมีการลงโฆษณา หรือมีค่าใช้จ่ายเพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มผู้มุ่งหวังด้วย แต่ผู้ที่ประสบความสำเร็จด้วยวิธีการดังกล่าวก็มีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก ดังนั้นการพัฒนาเวปไซต์ให้เกิดจากการ search โดยตรงจากกลุ่มผู้สนใจเอง จึงยังคงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินต่อไป

  • Make a list of related keywords. ทำรายการคีย์เวิร์ด
  • Target your keywords. ระบุคีย์เวิร์ด
  • Prepare to place keywords. เตรียมการใส่คีย์เวิร์ด
  • Monitoring keywords ติดตามผล

Step 3 Competitor Analysis การวิเคราะห์คู่แข่ง

การรู้จักคู่แข่งเพื่อที่จะวางแผนกลยุทธ์ในขั้นต่อไปนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และ ใน SEO ก็ไม่ต่างกัน การวิจัยคู่แข่งจะช่วยให้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้าใกล้กับคู่แข่ง การวิจัยคู่แข่งยังจะช่วยส่งเสริมให้คุณภาพเว็ปไซต์ของคุณติดอันดับในการจัดอันดับว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงเว็ปไซต์คุณหรือไม่ ขั้นตอนที่ 3 ของสิบขั้นตอนการทำ SEO เราจะดูที่สิ่งที่ได้เปรียบคู่แข่งของคุณ เราจะใช้มองอย่าใกล้ชิดเพื่อการเชื่อมโยงไปกับคู่แข่งของคุณ คุณภาพโดยรวมในการแข่งขัน
เราจะไม่ใช้เวลานานเกินไปในส่วนนี้ เพียงแต่จะดูในจุดที่สำคัญๆ โดยจะมองไปที่ 10-12 อันดับเว็บไซต์สำหรับคีย์เวิร์ดประกอบกับในขั้นตอนที่ 2 โดยการรู้คู่แข่ง จะเป็นการเข้าใกล้คู่แข่งอย่างใกล้ชิดที่สุด

• Keyword Phrase Analysis which your competitor is using. วิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่คู่แข่งใช้

• Analysis of link structure. วิเคราะห์โครงสร้างการเชื่อมต่อ

• Analysis of source code. วิเคราะห์ซอร์ทโค้ด

• Navigation Structure. วางโครงนำร่อง

Step 4 Sitemap + RSS feed Inclusion


เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะพัฒนาเว็ปไซต์ ช่วยรวบรวมข้อมูล ช่วยรู้ลำดับชั้นของเว็ปไซต์

1. Sitemap คืออะไร
Sitemap แปลเป็นภาษาไทยแบบบ้านๆ ว่า แผนที่เว็บไซต์ หรือ แผงผังเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ก็คือความหมายตรงๆ ของคำที่แปลเป็นภาษาไทยก็คือแผนที่ของเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ในเว็บไซต์จะต้องอธิบายโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ได้ เพื่อเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine (Google,Yahoo) และผู้ใช้งานทั่วไปด้วย ซึ่งในหน้า Sitemap นี้จะเป็นการรวม Link ทั้งหมดภายในเว็บไซต์ให้อยู่เพียงหน้านี้หน้าเดียว

2. ประเภทของ Sitemap
ตรงนี้จะให้ทำความเข้าใจกับ Sitemap ก่อนว่าทำไม Sitemap จะต้องมีการแบ่งประเภทด้วย ? แล้วเอาอะไรมาตัดสินในการแบ่งประเภทกันแน่ ?
- ทำไม Sitemap จะต้องมีการแบ่งประเภทด้วย ?
เหตุที่ต้องแบ่งนี้เพราะว่าเว็บไซต์ที่ดีควรจะมี Sitemap เพื่อให้ Search Engine อ่าน และผู้ใช้งานทั่วไปอ่าน ดังนั้นการทำเว็บไซต์ที่ดีก็ควรจะมี Sitemap ทั้งสองรูปแบบ
- เอาอะไรมาตัดสินในการแบ่งประเภทกันแน่ ?
โดยปกติแล้วหากเราต้องการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine เราจะต้องทำให้ Sitemap ของเราอยู่ในรูปแบบของภาษา XML ซึ่งจะทำให้ Bot หรือ Spider ของ Search Engine สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ว่านี้คือ Sitemap ตัวอย่างของ Sitemap ในรูปแบบ XML ที่ถูกต้อง ..

http://www.sutenm.com/sitemap.xml

http://seo.siamsupport.com/sitemap.xml

ส่วน Sitemap สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปก็ควรจะเป็นหน้าที่เรียบๆ ง่ายๆ สามารถดูแล้วเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์ทั้งหมดได้ว่าเว็บไซต์นี้มีอะไรบ้าง โดยควรให้เว็บไซต์ดูเรียบง่าย สวยงาม และให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าถึงหน้า Sitemap นี้ได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น

http://www.sutenm.com/sitemap-page/

http://www.google.com/sitemap.html

3. ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Sitemap ในเว็บไซต์
ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Sitemap ในส่วนของ Search Engine นั้นจะช่วยเพิ่มโอกาศในการ Index ให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม และในส่วนของผู้ใช้งานนั้นจะเป็นในรูปแบบความสะดวกในการรับรู้โครงสร้างทั้ง หมดของเว็บไซต์ ซึ่งในส่วนของผู้ใช้งานนี้ทางเว็บไซต์ควรจะมีปุ่ม Link ไปยังหน้า Sitemap ในจุดที่สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ ด้วย

4. แนะนำ Tools ในการ Generator Sitemap

- WordPress

  • ใน WordPress มี Plugins หมายตัวที่สามารถสร้าง Sitemap ได้แต่ขอแนะนำ Tools ตัวนี้ ชื่อ Dagon Design Sitemap Generator ที่ช่วยสร้าง Sitemap หลังจาก Active แล้วให้ไปสร้างหน้า Pages ขึ้นมา และนำ Code นี้วางแบบ HTML
  • และ Tools ที่ช่วยสร้าง Sitemap.xml ที่ชื่อ XML Sitemap Generator for WordPress ตัวนี้หลังจาก Active แล้วมันจะทำงานแบบ Auto หมดเลยครับ

- Joomla

  • ใน Joomla จะมี อยู่หลายตัวที่จะช่วยสร้าง Sitemap ได้แต่ขอแนะนำตัวที่ผมใช้อยู่ตัวนี้ ชื่อ Xmap หลังจากลงแล้วก็ไปเพิ่มเมนูให้เข้าถึง Component ตัวนี้ได้ใน Menu นะครับ หรือหากอยากลองตัวอื่นบ้างก็เข้าที่Sitemap ตรงนี้นะครับ ตัวไหนดีไม่มีก็มาแนะนำกันได้ครับ

Rss ย่อมาจากคำว่า Really Simple Syndication คือบริการหนึ่งที่จัดทำการนำเสนอแบบ XML โดยมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ให้สามารถติดตามข่าวสาร Update ต่าง ๆ บนเว็บไซต์หรืออินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อการอัพเดต

Step 5 Search Engine + Directory Submission


Search Engine คือ ระบบที่เก็บข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆไว้ และให้บริการผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคำหรือวลีที่ต้องการ

ความสำคัญของ Search Engine

ในอินเตอร์เน็ตมีเว็บเพจนับไม่ถ้วน และมีเว็บไซต์รวมถึงเว็บเพจใหม่ๆเพิ่มขึ้นทุกวัน หากไม่มี Search Engine ท่านลองนึกภาพดูซิครับว่า เราจะหาข้อมูลที่เราต้องการได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น หากท่านต้องการเช่ารถที่จังหวัดภูเก็ต ท่านคงไม่รู้ว่ามีเว็บไซต์ www.purecarrent.com ที่ให้บริการรถเช่า แต่สิ่งที่ท่านต้องทำก็คือ เข้าไปที่ Search Engine แล้วสั่งค้นหาโดยใช้คำว่า "ภูเก็ต รถเช่า" หรืออะไรทำนองนั้น

Search Engine จะรู้จักเว็บไซต์ของเราได้อย่างไร

การทำให้ Search Engine รู้จัก หรือมีข้อมูลของเว็บไซต์ของเราในฐานข้อมูลของ Search Engine นั้นมีได้หลายวิธี เช่น การซื้อโฆษณา การใส่ข้อมูลของเว็บไซต์เราเข้าไปในเสิร์จเอนจิ้น (Search Engine Submission)

Search Engine Submission

Search Engine Submission คือ การส่งข้อมูลของเว็บเพจ หรือเว็บไซต์ของเราเข้าไปใน Search Engine เหมือนกับการแนะนำตัวให้ Search Engine รู้จักกับเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้ Search Engine แสดงชื่อของเว็บไซต์ของเรา เมื่อมีคนทำการค้นหาข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราใน Search Engine
ข้อมูลที่เราจะส่งเข้าไปใน Search Engine มักจะเป็นข้อมูลในส่วนของ Meta Tag ของเว็บเพจนั้นๆ ซึ่งโดยมากข้อมูลที่ใช้ก็คือ ชื่อเว็บเพจ (webpage title) รายละเอียดโดยย่อของเว็บเพจ (description) และ คำสำคัญที่บอกถึงเนื้อหาหลักของเว็บเพจ (keywords)

Directory Submissions การลงทะเบียนเวปไซต์ เพิ่มช่องทางค้นหา

Submit Directory หรือแปลเป็นไทยว่า "การลงทะเบียนเวปไซต์ เข้าในหมวดหมู่ที่สามารถหาได้ง่าย ของเวปไซต์นั้นๆ" หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การเพิ่มช่องทางการค้นหาเวปไซต์ ของเรานั่นเอง ตัวอย่างเช่น Yellow Pages หรือสมุดหน้าเหลือง คือหนึ่งในบริการลงทะเบียนหน่วยงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ในหมวดหมู่ที่เป็นระเบียบ และง่ายต่อการค้นหา

Step 6 Social Bookmarking

Social Bookmarking คือบริการบนเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยการ add bookmark ไว้บนเว็บไซต์ผู้ให้บริการ เพื่อรวบรวม จัดเก็บ แบ่งหมวดหมู่ สร้างคอลเลคชั่น สืบค้น และโดยเฉพาะเพื่อการแบ่งปันเว็บไซต์หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์แก่คนอื่นๆ ที่สนใจ แนวคิดของการแบ่งปัน bookmark ออนไลน์ เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน เม.ย. ค.ศ. 1996 ต่อมาในปีค.ศ. 1999 การให้บริการ bookmark ออนไลน์ก็เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรก มีหลายเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการการทำ social bookmarking ซึ่งต่างก็ได้พัฒนาฟังก์ชั่นน่าสนใจขึ้น เช่น สร้างโฟลเดอร์เพื่อจัดการ bookmark การไล่เรียงลำดับ จนถึงการส่ง bookmark แก่เพื่อนๆ ผ่านอีเมล จนถึงปีค.ศ. 2003 del.icio.us หนึ่งในผู้ให้บริการ ก็ได้บุกเบิก tagging และนิยามคำว่า social bookmarking ขึ้นเป็นครั้งแรก

Social Bookmarking เป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการสารสนเทศออนไลน์ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต โดยมี folksonomy ซึ่งเป็นคำที่ผู้ใช้ร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อสื่อถึงเนื้อหาในเรื่องนั้นๆ เพื่อแบ่งหมวดหมู่และช่วยในการค้นหา รวมถึงการเชื่อมโยงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตลอดจนการใช้ tags เพื่อช่วยแยกหมวดหมู่ของเรื่องต่างๆ ออกเป็นกลุ่มก้อนที่ชัดเจน

ความน่าสนใจของ Social Bookmarking คือ การรวบรวม จัดเก็บ สารสนเทศออนไลน์ได้สะดวก รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก สามารถแบ่งหมวดหมู่ สร้างคอลเลคชั่น และเชื่อมโยงเว็บไซต์หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีผลต่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะการค้นหาข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปันลิงค์ที่น่าสนใจแก่เพื่อน หรือคนอื่นๆ ได้ ซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ขยายองค์ความรู้เรื่องหนึ่งๆ ร่วมกัน หรือที่เรียกว่า CoP (Community of Practice) ชุมชนนักปฏิบัติ หรือแม้แต่การจัดอันดับให้กับเว็บเพจที่ได้รับความนิยมซึ่งวัดจากจำนวนผู้ เข้าชม ซึ่งโยงไปถึงการทำการตลาดออนไลน์

ข้อจำกัดของ Social Bookmarking เว็บ เพจหรือเว็บไซต์บางเว็บอาจจะไม่ถูกค้นเจอ เพราะการทำ tagging คือ tag บาง tag หายไปจากการสืบค้น เพราะการสะกดผิด tag 1 tag มีความหมายมากกว่า 1 หรือเรื่องคำเหมือน คำพ้อง เป็นต้น รวมถึงไม่มีเครื่องมือที่ช่วยบ่งชี้ หรือคัดกรอง tag ที่ลำดับขั้นสัมพันธ์กัน

ในอนาคตจาก Social Bookmarking ที่เกิดขึ้นสามารถขยายไปสู่ การออกแบบฐานข้อมูลที่มีฟังก์ชั่นหรือระบบการ จัดการสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในสืบค้นและเข้าถึงมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักการเรื่อง folksonomy และ tagging การทำ bookmark กับสื่อรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากเว็บไซต์ เช่น เสียง วิดีโอ หรือภาพ หรือการจัดกลุ่มเนื้อหาในเว็บไซต์ blog หรือแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นตัวอย่างในหลายๆ ที่ เช่น บรรณารักษ์ สามารถรวบรวม bookmark และจัดทำรายการเรื่องต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ หรือเพื่อแนะนำแหล่งสารสนเทศคัดสรรที่น่าสนใจกำลังอยู่ในกระแสเพื่อให้ บริการผู้ใช้ภายในห้องสมุด เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับคือ

  1. ได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆจากทั้วทุกมุมโลก
  2. แบ่งบันสิ่งต่างๆที่ชื่นชอบ
  3. ได้พบผู้คนมากมาย

ประโยชน์ที่เจ้าของ บทความ ทั้งใน Website และ Blog จะได้รับ

  1. Promote website และ Blog
  2. Traffic
  3. Blanklink

ตัวอย่างรายชื่อ Social Bookamark

Step 7 Blogs + Press Release Creation การสร้างบล็อกและประชาสัมพันธ์


บล็อก (BLOG)

บล็อกมาจากการผสมคำ ระหว่าง WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก) = BLOG คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์

ภาย ในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ

บางคนมองว่าการเขียน บล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น

บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย

ลักษณะของสื่อใหม่

  • กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
  • มีลักษณะเป็น Interactive
  • ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
  • เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย

Blog กับ SEO

1. Blog ช่วยให้ทำ SEO ได้ง่ายขึ้น
จากข้อมูลเบื้องต้นของการทำ SEO พบว่า keyword มีส่วนสำคัญ สำหรับการทำ SEO โดย keyword ต่าง ๆ ที่เราใช้เป็นเป้าหมายในการทำ SEO นั้น ต้องมีแทรกอยู่ในหลาย ๆ ส่วนของหน้าเว็บไซต์ของเรา

คราวนี้กลับมามองอีกมุมนึงบ้าง เมื่อลักษณะเด่นของ blog คือการที่เราสามารถ เขียนบทความใหม่ๆ ขึ้นมาได้สะดวกมากขึ้น โดยบทความเหล่านั้น เป็นตัวอักษร ซึ่งจะเป็นตัวเอื้อประโยชน์ให้กับ Search Engine ในการค้นหา keyword ต่าง ๆ ที่อยู่ในบทความของเราเหล่านั้นนั่นเอง

2. SEO ช่วยโปรโมท Blog
บล็อกก็เป็นเพียงแค่เว็บไซต์ชนิดหนึ่ง ดังนั้นหากเราต้องการโปรโมทบล็อก ก็หลีกเลี่ยงไมได้ที่จะต้องทำ SEO ควบคู่ไปด้วย อย่างที่บอกในข้อ 1 ไปแล้วว่า เราได้ประโยชน์จากบล็อก ในเรื่องตัว keyword ในบทความ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพียงแค่เขียนบทความ ไม่ได้ทำให้เว็บไซต์เราพร้อม สำหรับการทำ SEO เราจึงต้องเลือกสรร keyword ที่เราต้องการทำ SEO ใส่ไว้ตามที่ต่าง ๆ ด้วย

Press release คือ การประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่ผ่านทางสื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้สาธารณะทราบถึงการประชาสัมพันธ์นั้นๆ
Online press release คือ การประชาสัมพันธ์ดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์
ประโยชน์ของการทำ online press releases เป็นวิธีอันชาญฉลาดในการนำชื่อของคุณและบริษัทคุณไปอยู่ในอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะได้ traffic และ link popularity
ปัจจุบัน ผู้คนต่างใช้เว็บค้นหาข่าวเพื่อที่จะค้นหาข้อมูลที่เขาต้องการ ในแต่ละเดือนมีผู้คนมากกว่า 27 ล้านคนใน USA ใช้ google news และ yahoo news ในการค้นหาข้อมูลใหม่ๆ ในหัวข้อที่เขาเหล่านั้นสนใจ
มีคนในจำนวน เหล่านั้นมากเหลือเกินที่คุณสามารถเปลี่ยนให้เขามาเป็นลูกค้าของคุณได้ ดังนั้นคุณจงมั่นใจว่าพวกเขาสามารถพบบริษัทและข้อมูลต่างๆ ของคุณผ่านการทำ online press release
วิธีการเขียน press releases
ขั้นตอนง่ายๆ 5 ขั้นตอนในการเขียน press release
1 สิ่งที่ต้องการสื่อ
2 คิดอย่างนักหนังสือพิมพ์
3 เขียน press release อย่างถูกต้อง
4 ทำ press release ให้สั้น ได้ใจความ
5 โปรโมต press release ของคุณผ่านทางเว็บไซต์

Step 8 ARTICLE SUBMISSION การรวมบทความ

การ submit ARTICLE คือบริการ สร้าง Back Link ให้กับเว็บของคุณ โดยจะทำการโพสท์เนื้อหาเกี่ยวกับเว็บของคุณในลักษณะ Blog Post บนเว็บในเครือข่ายของเราและทำการสร้าง link ไปยังเว็บไซต์ของคุณในบทความนั้น ๆ และบทความทั้งหมดจะทำ link ให้เชื่อมทั้งเครือข่าย หรือที่เรียกกันว่า Link Wheel ในรูปแบบของ Matrix Link

ซึ่งการเชื่อมในลักษณะนี่จะทำให้ทุกบทความที่ link มาหาเว็บของคุณได้รับ link จากเว็บในเครือข่ายด้วยกันเอง เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง เพิ่มความเป็น authority ในคำนั้น ๆ และส่งต่อค่านั้นมายังเว็บไซต์ของคุณ ทำให้เว็บของคุณได้อันดับที่ดีขึ้นในคำที่ต้องการ

Article Submissions จึงเป็นที่โด่งดัง และเรียกเรตติ้งให้กับเวปไซต์กันอย่างกระหน่ำเลยทีเดียว ซึ่งจะเรียกรวมว่า การทำ Back Links นั่นเอง มาถึงตรงนี้หลายคนคงนึกเห็นภาพกันคร่าวๆได้แล้ว เพราะการทำ Back Links ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียกคะแนนการติดอันดับเวปไซต์ค้นหาอย่างเช่น Google, Yahoo, Bing ในขั้นตอนการทำSEO ได้เป็นอย่างดี โดยที่วันนี้ SEO For Thai ก็จะนำขั้นตอนการทำงานมาฝากกันเบื้องต้น รวมถึงแนะนำเวปไซต์ดังๆสำหรับฝากบทความของเรากันนะครับ

Step 9 Link Popularity การสร้างความนิยม

แปลว่า ความนิยมเว็บไซต์ เป็นการใช้วัดค่าความนิยมของเว็บไซต์เรา ว่ามีจำนวนเว็บไซต์ หรือกี่เว็บเพจที่เชื่อมโยงลิงค์มายังเว็บไซต์ของเรา Link Popularity ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ SEO เลยทีเดียว
Link Popularity ส่งผลดีเป็นอย่างมากในการจัดอันดับบนเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ยิ่งเว็บไซต์เรามี Link Popularity สูง ก็มีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่า หรือดีกว่าเว็บไซต์ที่มี Link Popularity ต่ำกว่า

กฏของSEO ได้จำแนกรูปแบบของ Link Popularity เป็นหลากหลายประเภท แต่ที่มีประโยชน์ที่สุดจะเพียง 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

One-Way Links
1-Way Links เป็นการแจก Links ไปทางเดียวโดยไม่ต้องการ Links กลับมาหาเรา เช่น เว็บไซต์ Daydevทำ Links ไปที่เว็บไซต์ Kondentang แต่ว่าเว็บไซต์ Kondentang ไม่ได้ทำ Links ให้กับมาที่เว็บ Daydev

Two-Way Links
2-Way Links การพ่วง Links แบบสองทาง เช่น เว็บไซต์ Daydev ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ Stockwave และ เว็บไซต์ Stockwave ได้ Links กลับไปหาเว็บไซต์ Daydev คืน
Three-Way Links
3-Way Links แน่นอน Links สามเศร้า เช่น เว็บไซต์ Daydev ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ Kondentang แล้วเว็บไซต์ Kondentang ให้เว็บไซต์ Stockwave ก็ได้ Link กลับไปหาเว็บไซต์ Daydev
ซึ่งการทำ One-Way Links และ Three-Way Links ตามตัวอย่างข้างต้น จะส่งผลดีให้กับเว็บไซต์Kondentang ในฐานะเว็บคนกลาง มากกว่าการทำ Two-Way Links ในมุมมองของ SEO ซึ่งตรงๆเลยว่า เราควรเป็นคนกลางที่จะมีคน Links เข้ามาและก็จ่ายให้ Link ออกไปอ้อมๆกลับคืน
ประโยชน์ของ Link Popularity ก็ มีอยู่ไม่มากครับ การที่มี Links เข้าหาเว็บไซต์มากๆ เป็นหลายๆ Links ทำให้โอกาสที่ Robot ของ Search Engine ต่างๆ เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ เรามากขึ้นมีมาก ละนอกจากนี้ก็ยัง เพิ่มโอกาส ของผู้ที่สนใจผ่าน Links เข้ามาหาดูข้อมูลทำให้เกิดจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น อีกทั้งจำนวน Links ที่เชิญคนเข้ามาชมเว็บไซต์เราเยอะๆนั้น ก็ทำให้ความน่าเชื่อถือเว็บไซต์ เราดีขึ้นอีกต่างหาก

Step 10 SERP Report (SERP search engine results page) การแสดงผลลัพธ์การค้นหา

1.การวางโครงสร้างที่ดี – ในส่วนนี้ กล่าวคือ การทำ On Page Factor ให้ดูดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ซึ่งตรงนี้จะกล่าวถึง การวางกลุ่มเป้าหมายของคีย์เวิร์คที่เราต้องการ, การจัดวางคอนเท้นต์ภายในหน้าเว็บ, การวางหัวข้อของเนื้อหา, การจัดวางเนื้อหาทั้งหมด ตรงนี้ดูเหมือนซับซ้อนวกวาน แต่ง่ายๆครับ .. จัดวางให้เป็นอ่านง่าย ไม่ซับซ้อนไม่ว่าจะทางโค้ดดิ้ง (เขียนโค้ด) และการอ่านจริง (ให้ผู้เยี่ยมชมอ่าน)

2.การออกแบบที่ดี – หลังจากโครงสร้างเว็บไซต์ดีแล้ว เราควรจะใช้ธีม/ตีมที่เป็นมิตรกับ Search Engine ด้วย, การวางโครงสร้างลิ้งไม่ว่าจะเป็นภายในและภายนอก (Internal & External Link) เราควรจะดูแลและให้ความสำัคัญในส่วนนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว และเมื่อย้อนกลับมาที่ ธีม ของเว็บแล้ว .. ต้องไม่ลืมว่า เทคนิคเล็กน้อยๆที่(ผม)เรียนรู้ได้จากการสังเกตุก็คือ .. หากเว็บใดมีทราฟฟิกจำนวนมาก เมื่อมีพลังจากธีมที่มิตรกับ Search Engine .. คุณจะได้รับพลังจาก SE ให้มีอันดับ SERP (Search Engine Report Page) ดีๆได้โดยที่คุณไม่ต้องออกแรงโปรโมทมากเลยทีเดียว

3.คอนเท้นต์ – การที่เคยได้ยินจากคำบอกต่อว่า เมื่อทราฟฟิกคือพระเจ้าแล้ว คอนเท้นต์เนี้ยแหละตัวแม่เลยครับ การสร้างคอนเท้นต์ที่ไม่ซ้ำ ไม่คัดลอก และไม่มีใครเหมือนจะเป็นตัวฉุดเว็บเราให้มีพลังในการอยู่ Ranking สูงๆบน Search Engine ได้เลย

4.Backlinks – กลับมาเรื่องเดิมๆอีกครั้ง .. การสร้างลิ้งกลับมายังเว็บเรายังเป็นเรื่องสำคัญมากๆในการทำ SEO เพราะขาดลิ้งก็คล้ายกันว่าเราขาดใจ ! .. แต่ต้องไม่ลืิมนะครับว่ายิ่้งต่าง Class C IP มากเท่าไหร่ ยิ่งเจ๋ง!

อ้างอิงจาก

http://blog.seo.co.th/blog-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-seo-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3

http://www.oknation.net/blog/manual/2006/12/22/entry-4

http://www.seoforthai.com/2012/06/article-submissions-seo-article.html

http://www.siam3g.com/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=201

http://www.seoinw.com/2009/01/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1-pr/

http://www.mediaprecision.co.uk/ten-steps-of-seo-step-1-initial-analysis.html

http://preutipongs.com/?p=896